วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

แคลเซียมคาร์บอเนต อุตสาหกรรมพลาสติก


การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตในอุตสาหกรรมพลาสติก

          แคลเซียมคาร์บอเนตถูกนำไปเป็นตัวเติม (Filler) มากกว่าตัวเติมชนิดอื่นๆ พลาสติกที่ใช้แคลเซียมคาร์บอเนตชนิด PCC เคลือบด้วย Resin เป็นตัวเติมจะรับแรงกระแทกได้ดีและมีสภาพผิวสม่ำเสมอ นอกจากนี้ แคลเซียมคาร์บอเนตยังมีความขาวสูง มีดัชนีการหักเหใกล้เคียงการกับสารพลาสติก แคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกส่วนใหญ่เป็นชนิด GCC ที่ได้จากการบด

          คุณสมบัติที่เหมาะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตสำหรับปรับปรุงเนื้อพลาสติกให้ดีขึ้นมีดังนี้มีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีโลหะที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา ไม่เกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อนไม่ดูดกลืนสารเติมแต่งอื่นๆ และมีพื้นผิวจำเพาะตัวมีความขาวสูง ไม่กัดกร่อนชิ้นงานของเครื่องจักร กระจายตัวได้ดีลดการหดตัว ปรับปรุงสภาพผิวของชิ้นงาน เพิ่มการรับแรง ไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น ทดความร้อนได้สูงถึง 600 องศาเซลเซียส ด้วยคุณสมบัติของแคลเซียมคาร์บอเนตที่ดูดซึมน้ำมันได้น้อย สามารถนำไปเคลือบผิวของพลาสติก ทำให้พลาสติกมีคุณสมบัติ มีความเงาหรือความมันเพิ่มขึ้น มีคุณสมบัติต้านทานไฟฟ้าดีขึ้น ทนทานต่อแรงบีบอัด ควบคุมการหดตัวของพลาสติก ทำให้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกทนทานต่อสภาพภูมิอากาศมากขึ้น สำหรับพลาสติกที่มีแคลเซียมคาร์บออเนตเป็นส่วนประกอบที่พบพบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ จานปิดดุมล้อรถยนต์ แผ่นพลาสติกปิดหน้าปัดรถยนต์ แผ่นยางกันน้ำ กระเบื้องยาง พลาสติกที่ใช้เคลือบลวดหรือสายไฟ จานไมโครเวฟ ภาชนะใส่อาหารชนิดเมลามีน และแผ่นฟิล์มพลาสติกซึ่งใช้ในผ้าอ้อม ผ้าอนามัย และทางการแพทย์รวมทั้งในผลิตภัณฑ์ PVC ชนิดต่างๆ เช่น หนังเทียม พลาสติกหุ้มสายไฟและสายโทรศัพท์ ท่อพีวีซี พีอี พีบี  ประตูพีวีซี เม็ดพลาสติก พลาสติกวิศวกรรมสนรถยนต์ ชิ้นส่วนโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น