วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

แคลเซียมคาร์บอเนต ด้านการเกษตร


การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตในด้านการเกษตร

         อุตสาหกรรมปุ๋ยและสารปรับสภาพความเป็นกรดของดิน เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรทั้งนี้เพราะแคลเซียมคาร์บอเนตมีคุณสมบัติเป็นด่างสูง ไม่เป็นพิษต่อพืชและสิ่งแวดล้อมและมีราคาถูก จึงมีการนำไปใช้ในการปรับสภาพดิน แก้ดินเปรี้ยหรือปรับปรุงดินที่มีความเป็นกรดสูง เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช
       
         
          แคลเซียมคาร์บอร์เนตและโดโลไมท์ช่วยในการปลูกพืช 
       ปรับสภาพน้ำ ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ช่วยในการเจริญเติบโตใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง กว่า 50% ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรส่วนประกอบสำคัญ : แคลเซียม ไม่ต่ำกว่า 43 %แมกนีเซียม ไม่ต่ำกว่า 22%นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแร่ธาตุ ซิลิกอน, โซเดียม, โปรแทสเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, ทาลิเนียม, ฟอสฟอรัสฯลฯทำมาจากหินฟอสเฟตจากธรรมชาติ ที่มีชื่อทางการว่าโดโลไมท์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางหน่วยงานในภาครัฐมีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาใช้ เพราะนอกจากจะเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน-น้ำโดยวิธีธรรมชาติแล้ว ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากเดิมได้มากขึ้น คุณสมบัติในดิน- ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร และการติดเมล็ด เร่งสร้างความเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืช- เพิ่มภูมิต้านทาน เสริมต้นพืชให้แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม และโรคแมลงต่างๆ- ควบคุมค่า pH 

          1. ยางพารารองก้นหลุมประมาณ 1-2 ขีด อายุ 1-6 ปี ใส่ประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น อายุ 7 ปี ขึ้นไป ใส่ประมาณ 2 กิโลกรัม/ต้น หมายเหตุ ยางหน้าตายให้ใส่ 5 กิโลกรัม/ต้น (หลังจาก 4 เดือนจะมีน้ำยางให้กรีดตลอดทั้งปี) 

         2. ต้นไม้ยืนต้นและไม้ผลทุกชนิด ให้รองก้นหลุมประมาณ 2-3 ขีด อายุ 1-5 ปี ใส่ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ผลไม้ที่ออกผลแล้ว และไม้ผลที่มีปัญหาให้ใส่ตามอายุอัตราส่วน 1 ปี : 1 กิโลกรัม หมายเหตุ กรณีต้นลองกองหรือไม้ผลเป็นโรคหนอนชอนเปลือก(ICU) ให้ใส่ปุ๋ย 10-15 กิโลกรัม (แล้วแต่ขนาดต้น)เห็นผลภายใน 4 เดือน

        3. การปลูกพืชไร่พืชผักทุกชนิด ใช้หว่านโดยทั่วแปลงเพื่อปรับปรุงสภาพดินที่มีสภาพเป็น กรด อ่าง ดินแข็งกระด้าง ดินแน่น ให้สภาพดินเป็นกลาง สภาพดินเหมาะแก่การปลูกพืช ดินร่วนซุยมากขึ้น เหมาะแก่การลงรากของพืช ทำให้พืชสามารถหาอาหารได้มากขึ้น มีพื้นที่ในการหาอาหารมากขึ้น และช่วยให้พืชที่ลงหัวอย่างเช่น มันสำปะหลัง แห้ว มันเทศ เผือก แครอท สามารถลงหัวเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นตามไปด้วย

         การใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือ โดโลไมท์ นั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเห็นด่างของดินด้วยกล่าวคือ ในสภาพดินที่มีแนวโน้มการเป็นกรดเห็นด่างสูงให้ใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตและ ในสภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยโดโลไมท์นั้นควรให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 1 เดือนเพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าวไม่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้การปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินโดยทั่วไปสภาพดินมีการเปลี่ยน แปลง เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปีเกิดการเปลี่ยน แปลงทางโครงสร้างของดิน  เช่นดินจับแข็งกันเป็นก้อนซึ่งเกิดจากการตรึงธาตุอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อ พืชการไถพรวนดินที่ผิดวิธีที่ก่อให้เกิดการชะล้างของผิวดินการปลูกพืชชนิด เดียวกันเป็นเวลาติดต่อกันหลายปีทำให้เนื้อดินเกิดการเปลี่ยนแปลง

           การปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินกระทำได้โดยใส่ปูนขาว ปูนมาร์ลหรือแร่โดโลไมท์ อัตรา200-300 กิโลกรัม / ไร่ หลังจากหว่านหรือใส่ปูนแล้วจะต้องรดน้ำตามด้วยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่าความเป็นกรดด่างของดิน หรือ พีเอช (pH) จะบอกค่าตัวเลขตั้งแต่ 0-14 หากดินมีค่าพีเอชน้อยกว่า7 ดินนั้นจะเป็นดินกรด ยิ่งน้อยกว่า 7 มากก็จะเป็นกรดมาก ถ้าดินมีพีเอ็ชมากกว่า 7จะเป็นดินด่างแต่ปกติแล้วพีเอชของดินโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 5-8 หากดินมีพีเอชเท่ากับ 7 แสดงว่าเป็นกลางความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะเป็นตัวควบคุมการละลายหรือการ ตรึงธาตุอาหารในดินออกมาอยู่ในรูปสารละลายในดินเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ ได้ ช่วงพีเอส 6.2-6.8เป็นช่วงที่ธาตุอาหารทั้งหมดที่จำเป็นแก่พืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ มากที่สุด พีเอชสูง กว่า 6.8 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุ ฟอสฟอรัสและธาตุเสริม เช่น เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn) , สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu) , และโบรอน (Bo) หากพีเอชต่ำกว่า 5.3 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุแคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม(Mg) , กำมะถัน (S) และโมลิบดินัม (Mo) ได้ หรือพืชจะแสดงอาการเป็นพิษจากแมงกานีส (Mg) , มากเกินไปแต่พืชบางชนิดอาจเจริญได้ดีที่เป็นกรด หรือเป็นด่าง มากกว่านี้ค่าพีเอชสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดพีเอช (pH meter)  

          ปัจจุบันมีเครื่องวัดพีเอช แบบพกพาเกษตรกรสามารถวัดค่าพีเอชได้เองโดยการวัดพีเอชในดินโดยใช้เครื่องวัด พีเอชวัดในน้ำสารละลายดิน สัดส่วนดิน1 ส่วนโดยน้ำหนัก ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร แต่สามารถอนุโลมในการวัดในแปลงอย่างคร่าว ๆโดยใช้สัดส่วนเดียวกับการวัดค่าการนำไฟฟ้า (อีชี หรือ EC) ได้คือ ดิน 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วนโดยปริมาตรและคนให้เข้ากันดี จากนั้นจึงทำการวัดโดยจุ่มเครื่องวัดพีเอช ลงในสารละลายหรือกระดาษสำหรับตรวจวัดพีเอช

การแก้ไขความเป็นกรดเป็นด่างของ ดิน สามารถปฎิบัติได้ดังนี้

           1. การแก้ไขดินกรดก่อนปลูกพืช พื้นที่ดินปลูกพืชผักส่วนใหญ่จะเป็นดินกรดดังนั้นในการปลูกพืชส่วนใหญ่จำ เป็นต้องปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้สูงขึ้น ควรใช้หินปูนบด(CaCo3 ) หรือปูนโดโลไมท์ (CaMg (Co3 ) 2 ) ในการปรับค่าพีเอชของดินปริมาณของหินปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินว่าดิน มีบัพเฟอร์มากน้อยแค่ไหนเกษตรกรจึงควรส่งดินเพื่อตรวจสอบพีเอชของดิน และขอคำแนะนำปริมาณหินปูนสำหรับดินชุดที่ส่งไปตรวจนั้นโดยทั่วไปหากผสมหิน ปูน 1.75 กิโลกรัม ในดิน 1 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3-0.5หน่วยหากไม่สามารถส่งดินเพื่อตรวจสอบได้อาจทดลองผสมหินปูนในอัตราที่ คาดว่าจะใช้จริงกับดินเป็นจำนวนน้อยก่อนโดยทำให้ดินชื้นเหมือนก่อนจะปลูกพืช แล้วใส่ถุงพลาสติกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงควรตรวจสอบพีเอชควรใช้ปูนชนิดละเอียด (100 mesh) เพื่อการทดสอบนี้ เพราะหินปูนหยาบจะใช้เวลานานถึง 6 เดือนจึงจะทำปฎิกิริยาและลดพีเอชได้ในการใส่หินปูนในแปลงจึงสำคัญมากที่จะ ผสมให้เข้ากับดินเพื่อที่จะช่วยให้สลายตัวเร็วขึ้น หินปูน โดโลไมท์นอกจากจะปรับสภาพดินแล้วยังให้ธาตุอาหารรองคือ แคลเซียม ส่วนโดโลไมท์ยังให้แมกนีเซียมอีกด้วยดังนั้นในการปรับสภาพดินกรดโดยทั่วไป จึงแนะนำให้ใช้ปูนโดโลไมท์

          2. การแก้ไขดินกรดหลังปลูกพืช แล้วการใส่หินปูน หรือปูนโดไลท์จะให้ผลช้าดังนั้นจึงไม่เหมาะสมกับการแก้ไขดินกรดเมื่อปลูกพืช แล้ว ซึ่งอาจปฎิบัติได้ดังนี้2.1 หากดินมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย อาจใช้ปุ๋ยเดี่ยวเช่น แคลเซียมไนเตรท และโปแตสเซียมไนเตรทโดยอาจใช้เแคลเซียมไนเตรทอัตรา 2.4 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และโปรแตสเซียมไนเตรท อัตรา 1.2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรรดทุกสัปดาห์ วิธีนี้จะได้ผลหากเกษตรกรหมั่นตรวจสอบระดับพีเอช 2.2 หากดินมีสภาพเป็นกรดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้ปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์ / Ca(OH) 2 ) ปูนขาวอาจทำอันตรายต่อเนื่อเยื่อพืชได้ และในปริมาณมากจะทำให้รากเสียหาย การใช้ปูนขาวอาจใช้ในอัตรา 75กรัม ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร โรยลงบนดิน และให้น้ำทันทีเพื่อล้างส่วนที่ติดกับพืชออกไปและเพื่อให้ปูนขาวเริ่มละลาย น้ำลงสู่ดิน หรืออาจให้ในรูปสารละลายราดบนดิน โดยผสมปูนขาว 24 กรัม ต่อน้ำ 1ลิตรและบนดินในอัตรา 10 ลิตร ต่อตารางเมตร ปูนขาวจะละลายน้ำได้ดี แต่จะมีผลในระยะสั้นดังนั้นหากปัญหาดินกรดยังไม่ดีขึ้นอาจให้ปูนขาวซ้ำอีก ครั้งหลังจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ปูนขาวอาจทำให้ธาตุไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม เปลี่ยนกลับเป็นก๊าซแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายต่อรากและใบพืชดังนั้นไม่ควร ใช้ปูนขาวเมื่อในแปลงปลูกได้ให้ปุ๋ยสลายตัวช้าที่มีแอมโมเนียมอยู่ก่อนแล้ว เช่น ปุ๋ยออสโมโคต 

          3. การแก้ปัญหาดินด่าง สามารถกระทำได้โดยเพิ่มสารอินทรีย์ในดินซึ่งเป็นขบวนการที่ค่อนข้างช้าหรือ ใช้กำมะถันผง แอมโมเนียมซัลเฟต และเหล็กซัลเฟตในขณะก่อนปลูกพืชหรือหลังปลูก สารทั้ง 3 ชนิดสามารถผสมในดินแห้งได้หรืออาจให้โดยละลายน้ำรดบนดินเมื่อปลูกพืชก็ได้ สารพวกซัลเฟตจะทำปฏิกริยาได้เร็วมากในขณะที่กำมะถันผงจะต้องถูกสลายตัวโดย จุลินทรีย์ก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ความเค็มของสารละลายในดิน ในการดูดน้ำของพืชส่วนใหญ่แล้วน้ำจะเคลื่อนที่จากสารละลายดินที่มีความเข้ม ข้นของเกลือต่ำเข้าสู่รากที่มีสารละลายเกลือความเข้มข้นสูงกว่าหากปริมาณ เกลือในสารละลายดินมีมากเกินไป จะทำให้น้ำไม่เข้าสู่ราก ซึ่งพืชจะชะงักการเจริญเติบโตปลายรากตายโดยเฉพาะบริเวณดินแห้งเพราะเมื่อดิน แห้งปริมาณเกลือจะมีความเข้มข้นสูงใบจะแห้งโดยเฉพาะบริเวณขอบใบ และจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารต่าง ๆที่เป็นผลจากการที่รากเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำและแร่ธาตุได้เพียงพอเกลือ ในสารละลายดินมาจากหลายแหล่ง เช่นปุ๋ยที่ใช้กับพืช ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ ,ปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยสลายตัวช้าจะสลายตัวซึ่งให้เกลือที่ละลายน้ำปุ๋ยอินทรีย์ บางชนิดมีธาตุไนโตรเจนสูงก็เป็นแหล่งของเกลือดังนั้นในสารละลายดินจึงควรมี ปริมาณเกลือที่ละลายอยู่บ้างเพื่อแสดงว่าได้ให้ปุ๋ยเพียงอแต่ประมาณเกลือก็ ไม่ควรมากเกินไปจนเกิดผลเสียแก่พืช แต่บางแหล่งอาจไม่ใช่เกลือที่เป็นประโยชน์แก่พืชเช่น เกลือแกงเป็นต้นการแก้ไข หากมีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ในดินมากเกินไป ก็สามารถแก้ไขได้โดยการชะล้างเกลือออกโดยใช้น้ำเป็นปริมาณมาก เพื่อรักษาโครงสร้างของดินจึงมีคำแนะนำให้ชะล้างเกลือด้วยน้ำ 200 ลิตรต่อตารางเมตร โดยใช้ระบบน้ำเหวี่ยง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น